วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกๆท่าน ที่ผ่านมาทางบล็อกนี้ ขอประเดิมเรื่องแรกของบล็อกด้วย เรื่องประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่
ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาของสังคมไปแล้ว รัฐบาลก็ได้รณรงค์ให้เลิกสูบกัน ทั้งที่ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ทั้งผู้เสพเอง ผู้ผลิต ร้านค้าผู้จำหน่าย ต้องตระหนักถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้น แต่ในที่นี่ผมไม่ขอที่จะพูดถึงการวิธีการเลิกสูบบุหรี่ รวมถึงการรณรงค์ด้วย แต่จะขอนำเรื่องราวของประโยชน์จากการเลิกสูบบุหรี่มานำเสนอ โดยผมขอยกบทความจากเว็บไซต์ที่หนึ่ง ซึ่งเขียนได้ดี ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งที่มาผมขอระบุไว้ท้ายบทความ เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนี้

ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่

1. การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิด
ขึ้นได้ทันที ที่เลิกสูบทั้งในเพศ
หญิงและชาย ในทุกกลุ่มอายุไม่ว่าจะป่วยด้วยโรค
จากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม
2. ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ต่อไป โดยผู้
ที่เลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังคงสูบต่อไป
เมื่อทั้งสองกลุ่มมีอายุ 65 ปี
3. การเลิกสูบบุหรี่ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งในระบบอื่นๆ
หัวใจวายกระทันหัน เส้นเลือดในสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพอง และ
โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ
4. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3 - 4 เดือนแรกของการ
ตั้งครรภ์ จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
5. ผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.3 กิโลกรัม
6. ในการหยุดสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ความเสี่ยงของการ
ที่จะเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินระบบหายใจ
1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคง
สูบบุหรี่ต่อไป โดยพบว่าหลังจากการหยุดสูบ10 ปี ความเสี่ยงของการเกิด
มะเร็งปอดจะเท่ากับร้อยละ 30-50 ของผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปและอัตราเสี่ยง
ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน 10 ปี
2. การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ พบทั้งในเพศชาย
และหญิงทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ชนิดก้นกรองและชนิดที่ไม่มีก้นกรอง
3. การหยุดสูบบุหรี่ อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำคอและกล่องเสียงเมื่อ
เทียบกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป
4. การหยุดสูบบุหรี่ลดความผิดปกติที่จะกลายไปเป็นมะเร็งในระยะแรกของ
เยื่อบุลำคอ กล่องเสียง และปอด

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
1. หลังจากหยุดสูบบุหรี่เป็นเวลา 5 ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในช่องปาก
และหลอดอาหารส่วนต้น จะลดลงครึ่งหนึ่ง เทียบกับคนที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป และ
อัตราเสี่ยงยังคงลดลงต่อเนื่องหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน 5 ปี
2. การหยุดสูบบุหรี่ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับอ่อน เมื่อเทียบกับผู้ที่
ยังคงสูบต่อไป แต่การลดลงของความเสี่ยงนี่จะพบหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน
10 ปีขึ้นไป
3. อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากในหญิงที่เลิกสูบ
บุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปแม้ว่าจะหยุดสูบไปเพียง 2-3 ปี ข้อมูล
นี้เป็นการสนับสนุนว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

การหยุดสูบบุหรี่กับมะเร็งนอกระบบทางเดินหายใจ
1.การหยุดสูบบุหรี่ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันทั้งใน
เพศชายและเพศหญิง ในทุกกลุ่มอายุ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
2. อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันลดลงครึ่งหนึ่ง หลังจากหยุด
สูบบุหรี่ครบ 1 ปี และจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุดสูบบุหรี่เป็นเวลา
15 ปี ความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบ
บุหรี่
3. ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน การหยุดสูบบุหรี่จะ
ลดโอกาสของกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ลง
เป็นอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสจะเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรลดลง
ถึงร้อยละ 50
4. การหยุดสูบบุหรี่ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดตีบตันของส่วนอื่นๆ ของ
ร่างกาย เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
5. ในผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดตีบตันที่ขา การหยุดสูบบุหรี่ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น
ลดโอกาสที่จะถูกตัดขา หลังจากการผ่าตัดเส้นเลือด และอัตราการรอดชีวิตสูง
ขึ้น
6. หลังการหยุดสูบบุหรี่ลดโอกาสของการเป็นลมปัจจุบันเนื่องจากเส้นเลือด
สมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา
5 ปี แต่ในบางรายต้องหยุดสูบบุหรี่ภายในเวลา 15 ปี ความเสี่ยงจะลดลงเท่า
กับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

การหยุดสูบบุหรี่และโรคปอดชนิดอื่นๆ
1. การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดการหายใจมีเสียง
วี๊ด และลดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่นหลอดลมอักเสบ และ
ปอดบวม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
2. ในผู้ทียังไม่เกิดอาการของดรคถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้
สมรรถภาพของปอดดีขึ้นร้อยละ 5 ภายใน 2-3 เดือนหลังจากเลิกสูบบุหรี่
3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสื่อมของปอดจะชลอตัวลง จนเท่ากับ
ความเสื่อมที่เกิดในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
4. ในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ได้อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง
จะลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป

การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
1. น้ำหนักตัวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่เท่ากับ 2.3 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนัก
ที่เพิ่มขึ้นขนาดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่ประการใด
2. ร้อยละ 80 ของผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่มีเพียงร้อยละ 3.5
เท่านั้นที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่น้ำหนัก
ตัวเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการกินอาหารที่มากขึ้นและการเผาผลาญพลังงานที่น้อย
ลงหลังการหยุดสูบบุหรี่
3. การออกกำลังกายสม่ำเสมอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยลดอาหาร
ไขมัน อาหารทอด จะช่วยทำให้ควบคุมน้ำหนักได้

การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
1. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์ จะทำให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักตัว
ใกล้เคียงกับบุตรที่เกิดจากแม่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
2. หญิงตั้งครรภ์ที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนอายุครรภื 30 อาทิตย์ จะให้กำเนิดบุตรที่
น้ำหนักตัวมากกว่าหญิงที่สูบบุหรี่ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์
3. การวิจัยพบว่าถึงจะลดจำนวนบุหรี่ที่สูบระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออก
มาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ที่สูบ
4. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนของสตรีหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี ในผู้ที่หยุดสูบ
บุหรี่ อายุที่ประจำเดือนหมดจะใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และพฤติกรรมหลังการสูบบุหรี่
1. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ สูบมักจะมีความกังวล หงุดหงิด อารมณ์
ร้อน โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น และมีความอยากที่จะสูบ
บุหรี่อยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้จะหายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่ความอยาก
สูบบุหรี่และความรู้สึกว่ารสชาติอาหารดีขึ้น จะยังคงมีอยู่ต่อไปอีกซักระยะหนึ่ง
2. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ สมรรถภาพของการทำงานง่ายๆหลาย
อย่างที่ใช้สมาธิจะลดลงเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ไม่พบว่ามีความผิดปกติของ
ความจำ และความสามารถในการเรียนรู้และการทำงานที่ใช้ความสามารถ
สูงอื่นๆภายหลังการหยุดสูบบุหรี่
3. เมื่อเทียบระหว่างที่สูบบุหรี่กับผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ไปแล้ว พบว่าผู้ที่หยุดสูบบุหรี่
ได้สำเร็จมีความชื่อมั่นในตัวเองสูงกว่า และสามารถควบคุมตัวเองได้ดีกว่า
ผู้ที่ยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้
4. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้ว มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอื่นๆ
มากกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่ต่อไป

ที่มา : http://www.thailabonline.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น