วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของมะม่วง

ผลดิบและผลสุกสามารถแปรรูปเป็น มะม่วงกวน มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำมะม่วง แยม ฯลฯ ส่วนประโยชน์ทางยาไทย คือ เปลือกต้น และเนื้อในเมล็ด มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้รักษาอาการท้องเสีย แก้บิดและอาเจียนได้ ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ

มะม่วง ( Mango )
ลักษณะ/พันธุ์ : มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลายใบแหลม กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด พันธุ์มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ มะม่วงแก้วศรีสะเกษ มะม่วงพันธุ์มรกต มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวาย พันธุ์ฟ้าลั่น พันธุ์หนองแซง พันธุ์เขียวเสวย เป็นต้น และมีพันธุ์ส่งเสริมแยกตามลักษณะการรับประทานดังนี้ พันธุ์รับประทานสุก ได้แก่ น้ำดอกไม้ อกร่อง ทองดำ พันธุ์รับประทานดิบ ได้แก่ ฟ้าลั่น เขียวเสวย และแรด พันธุ์แปรรูป ได้แก่ แก้วสามปี

ยอดมะม่วง ใบอ่อน มีรสเปรี้ยวอมฝาดเล็กน้อย ผลดิบของมะม่วงรสเปรี้ยว ยอดอ่อนและใบอ่อนของมะม่วงยังไม่มีการวิเคราะห์ทางโภชนาการ ผลมะม่วงแก่ดิบจะให้พลังงานต่อร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้า - แคโรทีน วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการ :

การนำไปใช้ประโยชน์ : ผลดิบและผลสุกสามารถแปรรูปเป็น มะม่วงกวน มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำมะม่วง แยม ฯลฯ ส่วนประโยชน์ทางยาไทย คือ เปลือกต้น และเนื้อในเมล็ด มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้รักษาอาการท้องเสีย แก้บิดและอาเจียนได้ ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ ผลสุกหลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ปวดประจำเดือน นอกจากนี้ยังนิยมมาปรุงเป็นอาหารไทยนานาชนิด เช่น ยอดอ่อนและใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกหรือนำไปยำได้ ชาวเหนือนำใบอ่อนของมะม่วงไปยำเรียกว่า "ส้ายอดม่วง" ผลดิบของมะม่วง (รสเปรี้ยว) นำมารับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะม่วง เป็นต้น หรืออาจปรุงเป็นยำมะม่วงโดยซอยมะม่วงดิบเป็นฝอยเล็กๆ ปรุงร่วมกับน้ำตาล น้ำปลา มะนาว พริก กุ้งแห้ง ถั่วลิสงก็ได้

ที่มา : www.doae.go.th (กรมวิชาการเกษตร, ฐานความรู้ด้านพืช. มะม่วง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น