วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของกระดูกอ่อนปลาฉลาม

หูฉลามจัดเป็นอาหารชั้นเลิศของชาวจีนมาแต่โบราณกาล ซึ่งเราจะเห็นตามงานเลี้ยงสำคัญ
เช่น งานฉลองมงคลสมรส ซุปหูฉลามมักถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเมนูอาหาร
ในงานเลี้ยงแบบโต๊ะจีนเสมอๆ ซึ่งแท้จริงแล้วหูฉลามที่เราทานกันก็คือ ส่วนที่ได้จากครีบ
ของฉลามนั่นเอง ซึ่งต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ ยุ่งยากพอสมควร
โดยเอาส่วนครีบของฉลามมาตากแดดจนแห้ง จากนั้นแช่น้ำแล้วต้มให้เปื่อย
แล้วขูดลอกหนังทิ้งไปจนเหลือแต่กระดูกอ่อนๆ โดยมีความเชื่อว่าการรับประทานหูฉลาม
จะช่วยบำรุงสุขภาพ ร่างกายแลดูเยาว์วัยขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคได้อีกด้วย

นอกจากซุปหูฉลามที่มีความเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ปัจจุบันกระดูกอ่อนของฉลาม
หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า Shark cartilage
ยังถูกนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งสกัดมาจากส่วนหัวและครีบของฉลาม
ว่ากันว่าส่วนที่เป็นโครงร่างกระดูก ทั้งหมดของฉลามนั้นเป็นกระดูกอ่อน

จุดเริ่มต้นของการนำกระดูกอ่อนปลาฉลามมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
เริ่มจากนายแพทย์ที่นิวยอร์คชื่อ John Prudden สนใจศึกษากระดูกอ่อนของสัตว์
(Animal cartilage) สำหรับใช้ในการรักษาโรคในช่วงต้นยุค ค.ศ. 1950
ซึ่งช่วงแรกได้ใช้กระดูกอ่อนจากวัว พบว่าสามารถช่วยสมานแผลในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัด
ต่อมาเขาได้ใช้กระดูกอ่อนจากวัวในการรักษามะเร็ง ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกว่าครึ่งมีก้อนมะเร็ง
ขนาดเล็กลง หลังจากนั้นกระดูกอ่อนของสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หมู แกะ ไก่ วัว
และฉลามได้ถูกนำมาศึกษาเพิ่มเติม

ในปี ค.ศ. 1992 มีการตีพิมพ์หนังสือที่เขียนโดย I. William Lane
ในหัวเรื่อง Sharks Don’t Get Cancer ทำให้กระดูกอ่อนปลาฉลามได้รับความนิยม
ในการเป็นทางเลือกของการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีความเชื่อว่าฉลามเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อย
พบรายงานว่าเป็นมะเร็งเหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่าฉลามมีระบบภูมิต้านทาน
พิเศษที่สามารถปกป้องตัวเองจากโรคร้ายนี้ เนื่องจากมันมีกระดูกอ่อนในปริมาณสูง
นอกจากนี้การที่ไม่พบหลอดเลือดในกระดูกอ่อน นำไปสู่สมมติฐานที่ว่าเซลล์กระดูกอ่อน
สามารถผลิตสารที่สามารถยับยั้งการสร้างหลอดเลือด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ว่า
กระบวนการสร้างหลอดเลือดใหม่หรือที่เรียกว่า Angiogenesis เป็นกลไกสำคัญของเซลล์มะเร็ง
ในการทำให้ตัวมันได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดเพื่อให้มันเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
และแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ฉะนั้นการที่ค้นพบสารที่ยับยั้งกระบวนการนี้ได้ก็เป็นยุทธวิธีหนึ่ง
ในการต่อสู้กับมะเร็ง ซึ่งการศึกษาพบว่ากระดูกอ่อนปลาฉลามมีสารที่มีคุณสมบัติ
ยับยั้งกระบวนการนี้ด้วย ซึ่งเท่ากับว่าช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งนั่นเอง

นอกจากนี้ยังพบแร่ธาตุแคลเซียม (Calcium) และฟอสฟอรัส (Phosphorus)
ทำให้ปัจจุบันมีประยุกต์ใช้กระดูกอ่อนปลาฉลามทางด้านสุขภาพที่หลากหลาย
เช่น ช่วยบรรเทาอาการจากโรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ บรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง
เช่น โรคเรื้อนกวาง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบว่า กระดูกอ่อนปลาฉลามประกอบไปด้วย โปรตีนคอลลาเจน (Collagen)
และสารในกลุ่มไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans)
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคอนดรอยติน (Chondroitin) ซึ่งมีผลในการบรรเทาหรือรักษาโรคข้อเสื่อม
และสารในกลุ่มนี้บางชนิดยังมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบและกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกด้วย
รวมไปถึงการเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของโปรตีนคอลลาเจน
และอีลาสตินในชั้นหนังแท้ จึงมีส่วนสำคัญในการทำให้ผิวของคนเรานุ่มชุ่มชื้น
มีความยืดหยุ่น ผิวเต่งตึงกระชับ ซึ่งเป็นคุณลักษณะของผิว
เมื่อยังเยาว์วัยที่เราปรารถนาเป็นเจ้าของ

ประโยชน์ของกระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage)
  • ป้องกันมะเร็งโดยสาร Glucoaminoglycans (GAGs) ที่พบในกระดูกอ่อนปลาฉลามจะมีผลยับยั้งการสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่ๆ ที่จะไปเลี้ยงเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง (Antiangiogenesis) ทำให้เซลล์เหล่านั้นขาดสารอาหาร และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก
  • มีคอลลาเจน (Collagen) และคอนดรอยติน ซัลเฟต (Chondroitin Sulfate) ช่วยบรรเทาอาการปวด อักเสบในผู้ป่วยโรคไขข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
  • ลดการอักเสบของผิวหนัง เช่น Eczema และ Psoriasis
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง

ที่มา: http://www.marketingoemoffice.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539122282&Ntype=16

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น